เรียนรู้ CRIMES

ระบบสารสนเทศข้อมูลอาชญากรรมสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสามารถจำแนกผู้ใช้
เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่

1.

พนักงานสอบสวน,ผู้ช่วยพนักงานสอบสวน หรือเจ้าหน้าที่ประจำสถานีที่ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์
ลูกข่าย ผู้มีหน้าที่บันทึกหรือเพิ่มเติมข้อมูลอาชญากรรมให้ถูกต้อง

2.

เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้มีหน้าที่ด้านสืบสวน ป้องกันและปราบปราม ที่ต้องใช้ข้อมูลในการดำเนินงาน

3.

เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้มีหน้าที่บริหารงานที่ต้องใช้ข้อมูลอาชญากรรมในด้านงานสถิติ

4.

เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำกองทะเบียนประวัติอาชญากร ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบ ยืนยัน ประวัติผู้ต้องหาลายพิมพ์นิ้วมือ ภาพถ่ายและหมายจับ

5.

เจ้าหน้าที่เทคนิค ผู้มีหน้าที่ด้านเทคนิคในการดำเนินการ บำรุงรักษาระบบ ให้สามารถทำงานได้
ตลอดเวลา

ผู้เสนอราคาต้องวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบสารสนเทศข้อมูลอาชญากรรมสำนักงานเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารตามเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคานี้โดยละเอียด ซึ่งแต่ละกลุ่มงานของ
สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วย 5 กลุ่มระบบงาน คือ

2.1

กลุ่มระบบงานบันทึก( Data Entry) ประกอบด้วย

2.1.1

ระบบงานบันทึกข้อมูล คดีอาญาทั่วไป คดีอุบัติเหตุจราจร เหตุทรัพย์หาย เหตุรถหาย เหตุคนหาย
พลัดหลง เหตุคนตายไม่ทราบชื่อ แผนประทุษกรรม เหตุที่ต้องรายงาน

2.1.2

ระบบบันทึกและติดตามบุคคลพ้นโทษ

2.1.3

ระบบการขอหมายจับ ประกาศสืบจับ และถอนประกาศสืบจับ

2.1.4

ระบบการออกคำขอต่างๆ เช่นหมายจับ ผัดฝ้องฝากขัง

2.1.5

ระบบบันทึกการปล่อยตัวชั่วคราวและการประกันตัว

2.1.6

ระบบการขออายัดตัว และการรับรองการอายัดตัว

2.1.7

ระบบบันทึกผลการตรวจสอบประวัติ

2.1.8

ระบบรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์(e- Form) เช่น การรับเอกสารอเล็กทรอนิกส์ที่เจ้าหน้าที่บันทึก
แบบ Off-line เพื่อนำเข้าสู่ระบบ เป็นต้น

 

2.2

กลุ่มระบบงานสืบค้นข้อมูล ( Data Search )

2.2.1

ระบบสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลแต่ละแหล่งข้อมูลโดยตรง ได้แก่ ข้อมูลในระบบสารสนเทศข้อมูล อาชญากรรมสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้อมูลทะเบียนราษฏร์ ข้อมูลทะเบียน
ยานพาหนะ ข้อมูลใบอนุญาตขับรถยนต์และจักรยานยนต์ ข้อมูลทะเบียนปืน ข้อมูลใบอนุญาต
พกพาอาวุธ และ ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

2.2.2

ระบบสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆในข้อ 2.1 หลายๆแหล่งพร้อมๆกัน โดยสามารถกำหนด
หลักเกณฑ์และความสัมพันธ์ในการสืบค้น เช่น การค้นหารถยนต์ยี่ห้อ รุ่น สี ที่ใช้เป็นเครื่องมือ
ในการก่ออาชญากรรมในระหว่างช่วงเวลา เป็นต้น

 

2.3

กลุ่มระบบงานบริการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Data Services)

2.3.1

ระบบรายงานสถิติ ( Statistic Report) ตามรูปแบบต่างๆที่กำหนดไว้ เช่น นาฬิกาอาชญากรรม
ตามประเภทคดี รายงานคดีประจำวัน เดือน ปี ตามสถานี จังกวัด ภาค หรือ ประเทศ เป็นต้น
โดยระบบนี้สามารถแสดงผลบนจอภาพ หรือ สั่งพิมพ์ในระบบพิมพ์เอกสารในหัวข้อ 2.3.2 หรือ
ส่งผ่านข้อมูลไปยังระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลในหัวข้อ 2.3.3

2.3.2

ระบบพิมพ์เอกสาร ( Form Printing) ตามรูปแบบต่างๆที่กำหนดไว้ เช่น คำขอหมายจับ หมายจับ
คำขอผัดฟ้องฝากขังแบบรายงานคดีทั่วไป แบบรายงานคดีอุบัติเหตุจราจร รายงานสถิติต่างๆตาม
หัวข้อ 2.3.1 เป็นต้นโดยระบบนี้จะทำงานในลักษณะ Web Services หรือ แบบ Report Servicesเพื่อให้บริการระบบอื่นๆ

2.3.3

ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Data exchange) สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อนำข้อมูล
เข้าสู้ระบบงานอื่นๆ เช่น ข้อมูลบุคคลพ้นโทษ เป็นต้น หรือ นำข้อมูลจากฐานข้อมูลไปใช้ในรูปแบบ
XML,ASCII Text, Adobe Acrobat PDF และ Microsoft Word เป็นต้น

 

2.4

กลุ่มระบบแจ้งเตือน ( Alarm & Alert Services )

2.4.1

ระบบแจ้งเตือนเกี่ยวกับการครบกำหนดเวลาของงานต่างๆ( Alarm Service ) เช่น ครบกำหนดการ
ส่งสำนวนคดี ครบกำหนดการขอผัดฟ้องฝากขัง เป็นต้น

2.4.2

ระบบแจ้งเตือนเกี่ยวกับการตรวจสอบอัตโนมัติ ( Alert Service ) เช่น การพบหมายจับอื่นๆขณะ
บันทึกข้อมูลของผู้ต้องหาการพบรถยนต์ของกลางเป็นรถยนต์ถูกแจ้งหาย เป็นต้น

2.4.3

ระบบแจ้งเตือนเกี่ยวกับการทำงานร่วมกัน ( Collaborative service ) เช่น การแจ้งข้อมูลเพิ่มเติม
จากกองทะเบียนประวัติอาชญากร การแจ้งอายัดตัวจากสถานีอื่น เป็นต้น

 

2.5

กลุ่มระบบงานบริหารจัดการข้อมูลและระบบ ( Data & System Management)

2.5.1

ระบบตรวจสอบคดีในความรับผิดชอบ และบริหารสิทธิเจ้าของคดี การเข้าถึงข้อมูลคดี

2.5.2

ระบบบริหารสิทธิต่างๆสำหรับระบบทั้งหมดผ่าน LDAP server สำหรับข้อมูล โปรแกรมระบบงาน
เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและลูกข่าย อุปกรณ์ และผู้ใช้

2.5.3

ระบบ Backup/Restore/Archive ของข้อมูล ระบบงาน Operating และ System Software

2.5.4

ระบบบันทึกและตรวจสอบการทำงานต่างๆของผู้ใช้ระบบงานทั้งหมด ( Audit Trail/Logging)

2.5.5

ระบบบริหารการเชื่อมโยงและเฝ้าดูการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลุกข่าย ( Client Management
and Monitoring )

 

4.3

ผู้มีสิทธิใช้ระบบ

4.3.1

ผู้ปฎิบัติงานแต่ละตำแหน่งจะถูกกำหนดสิทธิ (Authorization) ในการเข้าถึง Resource และ
Serviceของระบบโดยผู้ดูแลระบบสามารถจำกัดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและการเรียกใช้งานโปรแกรม
แต่ละชนิดรวมทั้งสามารถกำหนด Owner และ Access ของ File และ Resourceต่างๆในระบบ

4.3.2

ในส่วนของระบบงานที่พัฒนาขึ้นจะต้องยอมให้ผู้ดูแลระบบสามารถระบุสิทธิการปฏิบัติงานของ
กลุ่มต่างๆได้โดย ในขั้นต้นประกอบด้วยกลุ่มดังนี้
1. เสมียนคดี
2. พนักงานสอบสวนเจ้าของคดี
3. หัวหน้าพนักงานสอบสวน
4. หัวหน้าสถานีตำรวจ
5. หัวหน้าหน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวน
6. สารวัตรสืบสวนสอบสวนภูธรจังหวัด
7. รองผู้บังคับการจังหวัด
8. รองผู้บังคับการหน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวน
9. ผู้บังคับการ
10. ผู้บังคับการหน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวน
11. รองผู้บัญชาการที่เกี่ยวข้อง
12. ผู้บัญชาการ
13. เจ้าหน้าที่ฝ่ายประมวลผลข้อมูล
14. เจ้าหน้าที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร
15. ผู้เกี่ยวข้องกับการสืบสวนข้อมูล

4.3.3

ผู้ดูแลระบบในส่วนกลางต้องสามารถกำหนดสิทธิให้กับผู้ใช้ ได้ดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
1. ติดตามคดีที่ตนเป็นเจ้าของ
2. ติดตามคดีภายในสถานีหรือหน่วยงานที่สังกัด
3. ติดตามผลคดีภายในจังหวัดหรือกองบังคับการที่สังกัด
4. ติดตามคดีของทุกหน่วยงาน
5. บันทึกข้อมูลคดี
6. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลคดี
7. ออกหมายเลขคดี
8. โอนย้ายคดีที่เป็นเจ้าของไปให้หน่วยงานอื่น
9. โอนย้ายคดีภายในสถานีหรือหน่วยงานที่สังกัด
10. โอนย้ายคดีภายในจังหวัดหรือกองบังคับการที่สังกัด
11. โอนย้ายคดีไปหน่วยงานอื่นนอกสังกัด
12. ดูรายละเอียดคดีที่เป็นเจ้าของ
13. ดูรายละเอียดคดีภายในสถานีหรือหน่วยงานที่สังกัด
14. ดูรายละเอียดคดีภายในจังหวัดหรือกองบังคับการที่สังกัด
15. ดูสถิติคดีภายในสถานีหรือหน่วยงานที่สังกัด
16. ดูสถิติคดีภายในจังหวัดหรือกองบังคับการที่สังกัด
17. ดูสถิติคดีภายในภาคหรือกองปัญชาการที่สังกัด
18. ดูสถิติคดีภายนอกภาคหรือกองบัญชาการที่สังกัด
19. สืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง(เช่น คนหาย พลัดหลงหมายจับทะเบียนราษฏร์และทะเบียนรถ)